ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน
กลุ่มเป้าหมายลูกค้า
อาชีพ |
รายละเอียด |
---|---|
พนักงานประจำ (รายวัน) |
มีเงินมาชดเชยกับรายได้ที่ขาดหายไป ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายประจำวันที่ยังคงอยู่ |
พนักงานประจำ (รายเดือน) |
ไม่ต้องใช้เงินตัวเองจ่ายค่ารักษาพยาบาล เงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือนก็ควรจะเป็นเงินที่เราได้เก็บ ได้ใช้ ตามใจเรา |
ข้าราชการ |
อยากมีทางเลือกการรับการรักษาเวลาป่วย ถ้าเป็นไปได้ก็อยากเข้าโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานการบริการดี ไม่ต้องรอคิวนานๆ |
เจ้าของกิจการ/อาชีพอิสระ |
ไม่อยากเสียโอกาสทำรายได้กรณีต้องนอน รพ. หรือถ้าต้องนอนโรงพยาบาลแล้วมีเงินช่วยค่ารักษาเหมือนพนักงานบริษัทก็คงดี |
รายละเอียด
ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน เป็นประกันชีวิตและสุขภาพ ที่มาพร้อมกับความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วย มีแผนความคุ้มครองให้เลือก 2 แผน
ตารางผลประโยชน์ความคุ้มครอง | ||
---|---|---|
รายละเอียด |
แผน 1 | แผน 2 |
ความคุ้มครองชีวิต |
100,000 บาท | |
ค่าชดเชยรายวัน |
1,000 บาท |
2,000 บาท |
ครบกำหนดสัญญา |
105% ของเบี้ยฯมาตรฐานของสัญญาหลัก |
ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน เป็นชื่อทางการตลาดของ “แบบพรูคุ้มครองชีวิต คืนเบี้ยประกันภัย 2 (ชนิดไม่มีเงินปันผล)”
และ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน)
ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์
- รับความคุ้มครองชีวิต 100,000 บาท ตลอดระยะเวลา 15 ปี
- รับค่าชดเชยรายวัน สูงสุดวันละ 2,000 บาท เมื่อเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล
- รับเงินคืน 105% ของเบี้ยฯ มาตรฐานของสัญญาหลัก เมื่อครบกำหนดสัญญา
- จ่ายเบี้ยฯ เบาๆ เริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาท (เบี้ยฯมาตรฐานแผน 1 สำหรับเพศหญิงอายุ 16 ปี)
การจ่ายผลประโยชน์
การจ่ายผลประโยชน์สัญญาหลัก
ในขณะที่กรมธรรม์นี้มีผลใช้บังคับ บริษัทฯ จะจ่ายเงิน ดังนี้
- ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันครบกำหนดสัญญา บริษัทฯ จะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเท่ากับ 105% ของเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน (ตามชั้นอาชีพที่ 1) รายปี ของกรมธรรม์หลักที่ชำระมาแล้วทั้งหมด
- ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาเอาประกันภัย บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เป็นจำนวนหนึ่งจำนวนใดที่มากกว่าระหว่างเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือ เบี้ยประกันภัยมาตรฐานรายปีของกรมธรรม์หลักที่ชำระมาแล้วทั้งหมด หรือ จำนวนเงินเอาประกันภัย
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีหนี้สินใดๆ ที่ค้างชำระอยู่ตามกรมธรรม์ (ถ้ามี) บริษัทฯ มีสิทธิหักหนี้สินดังกล่าวออกจากผลประโยชน์ข้างต้นได้
การจ่ายผลประโยชน์สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (HI)
ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะคนไข้ใน เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นรายวัน (ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย) ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวในอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะคนไข้ใน เป็นเวลาไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง
สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition)
บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ สำหรับโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) หรือการบาดเจ็บ ที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ (Reinstatement) ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด เว้นแต่
- ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยิมรับความเสี่ยงภัยโดยไม่มีเงื่อนไข
ยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว หรือ - สัญญาเพิ่มเติมนี้มีผลบังคับต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยโรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) นั้น ไม่ปรากฏอาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ และไม่ได้พบหรือปรึกษาแพทย์ ในระยะ 5 ปีก่อนวันทำสัญญาเพิ่มเติม เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก
ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง
30 วัน |
สำหรับการเจ็บป่วยใดๆ |
---|---|
120 วัน |
สำหรับการเจ็บป่วยเป็นผู้ป่วยใน จากโรคดังต่อไปนี้
ู่ |
*จากวันเริ่มมีผลคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติม หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด
ตัวอย่างข้อยกเว้นทั่วไป
ข้อยกเว้นสัญญาหลัก
- กรณีไม่เปิดเผยความจริง หรือแถลงความเท็จ บริษัทฯ จะบอกล้างสัญญาภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุ หรือตามการกลับสู่สถานะเดิม หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเอาประกันภัยในเฉพาะส่วนที่เพิ่ม
- ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุ หรือตามการกลับสู่สถานะเดิม หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเอาประกันภัยในเฉพาะส่วนที่เพิ่ม หรือถูกผู้รับประโยชน์ฆาตกรรมโดยเจตนา
ข้อยกเว้นสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (HI)
การประกันภัยตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ไม่คุ้มครอง ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลหรือความเสียหายที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือ เจ็บป่วย (รวมทั้งโรคแทรกซ้อน) อาการ หรือภาวะความปกติที่เกิดจาก
- โรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันทำสัญญาประกันภัย การตรวจรักษาภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) หรือปัญหาด้านพัฒนาการ หรือโรคทางพันธุกรรม
- การรักษาเพื่อเป็นการเสริมสวย ตกแต่ง, การรักษาอันมีลักษณะเลือกได้, การทำหมัน, การแก้หมัน, การรักษาเพื่อแก้ไขสิ่งผิดปกติอันเนื่องมาแต่กำเนิด หรือที่เป็นอยู่ก่อน, การรักษาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง การซื้ออุปกรณ์เพื่อช่วยให้มองเห็นหรือช่วยฟัง, การรักษาโรคเกี่ยวกับเหงือกหรือฟัน ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ
- การตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทำแท้ง การคลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การแก้ไขปัญหา การมีบุตรยาก (รวมถึงการสืบวิเคราะห์และการรักษา) การทำหมันหรือการคุมกำเนิด
- โรคเอดส์ หรือกามโรคหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การตรวจสุขภาพทั่วไป การร้องขอเข้าอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม หรือร้องขอการผ่าตัด การพักฟื้น หรือการพักเพื่อการฟื้นฟูหรือการรักษาโดยวิธีให้พักอยู่เฉยๆ การตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุใดๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิก การตรวจวินิจฉัยการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย การรักษาหรือตรวจวิเคราะห์เพื่อสาเหตุ ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็นทางการแพทย์ หรือไม่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์
หมายเหตุ: ข้อยกเว้นข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โปรดศึกษาข้อยกเว้นเพิ่มเติมในกรมธรรม์
หมายเหตุ
- ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต มิใช่การฝากเงิน เพื่อสิทธิประโยชน์สูงสุดจากกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยจนครบระยะเวลาชำระเบี้ย และถือครองกรมธรรม์จนครบกำหนดสัญญา หากกรมธรรม์ยุติความคุ้มครองก่อนครบกำหนดสัญญา ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ได้รับเงินคืนเท่ากับสิทธิประโยชน์สูงสุดจากกรมธรรม์ หรือจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การชำระเบี้ยประกันภัยผ่านนายหน้าประกันชีวิตเป็นเพียงการให้บริการเท่านั้น
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือหลังจากหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริงและค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ฉบับละ 500 บาท
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ขอเวนคืนกรมธรรม์ โดยจะได้รับค่าเงินเวนคืนกรมธรรม์ ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์กับผลประโยชน์อื่นๆ อันพึงจะได้รับ (ถ้ามี) หักด้วยจำนวนหนี้สินใดๆ ที่ค้างชำระอยู่ (ถ้ามี)
- เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิต สามารถนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ผู้ขายมีหน้าที่แจ้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่านั้น ไม่สามารถการันตีหรือให้คำแนะนำอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- สำหรับเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมไม่สามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
- ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน เป็นชื่อทางการตลาดของ แบบ “พรูคุ้มครองชีวิต คืนเบี้ยประกันภัย (2)” (ชนิดไม่มีเงินปันผล) และ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน)
คุณสมบัติผู้สมัคร
- อายุระหว่าง 16 – 50 ปี
- ระยะเวลาความคุ้มครอง 15 ปี (คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 65 ปี)
- ลูกค้าต้องยื่นใบคำขอเอาประกันภัย (ชนิดแถลงคำถามสุขภาพ 24 โรค)
- การตรวจสุขภาพเป็นไปตามข้อกำหนดการพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ
ขั้นตอนการสมัคร
- แจ้งความจำนงในการซื้อประกันกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร
- เจ้าหน้าที่ธนาคารพิมพ์ใบแบบสอบถามความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคารจาก Intranet
- เจ้าหน้าที่ธนาคารบันทึกข้อมูลสมัครเอาประกันชีวิตใน SOS พิมพ์ใบสมัคร จากนั้นให้ผู้ขอเอาประกันตรวจทานพร้อมลงนามในใบคำขอเอาประกันภัย
- ผู้ขอเอาประกันภัยเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารประกอบการพิจารณา และส่งคืนเจ้าหน้าที่ธนาคาร
- ชำระเบี้ยประกันภัย
เอกสารประกอบการพิจารณา
- ใบคำขอเอาประกันภัย (ชนิดแถลงคำถามสุขภาพ 24 โรค)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ของผู้ขอเอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์)
- กรณีชาวต่างชาติ ใช้สำเนาพาสปอร์ต, วีซ่า และสำเนาใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย (Work permit) ที่มีข้อมูลจนถึงปัจจุบันและตอบคำถามในถ้อยแถลงสำหรับชาวต่างชาติ
- แบบฟอร์มการพิสูจน์ทราบตัวตนลูกค้า (ในกรณีที่ลูกค้าประกอบอาชีพเสี่ยงและค่าเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป)
หมายเหตุ
- ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต มิใช่การฝากเงิน เพื่อสิทธิประโยชน์สูงสุดจากกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยจนครบระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยและถือครองกรมธรรม์จนครบกำหนดสัญญา หากกรมธรรม์ยุติความคุ้มครองก่อนครบกำหนดสัญญา ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ได้รับเงินต้น หรือได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวน
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การชำระเบี้ยประกันภัยผ่านนายหน้าประกันชีวิตเป็นเพียงการให้บริการเท่านั้น
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือหลังจากหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริงและค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ฉบับละ 500 บาท
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ขอเวนคืนกรมธรรม์ โดยจะได้รับค่าเงินเวนคืนกรมธรรม์ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์กับผลประโยชน์อื่นๆ อันพึงจะได้รับ (ถ้ามี) หักด้วยจำนวนหนี้สินใดๆ ที่ค้างชำระอยู่ (ถ้ามี)
- เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตสามารถนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี สำหรับเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร (ผู้ขายมีหน้าที่แจ้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่านั้น ไม่สามารถการันตีหรือให้คำแนะนำอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้)
- ธนาคารธนชาต ในฐานะนายหน้าประกันภัย เป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต และอำนวยความสะดวกในการชำระเบี้ยประกันภัยเท่านั้น โดย บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จะเป็นผู้รับผิดชอบในเงื่อนไขความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
- ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน เป็นชื่อทางการตลาดของ แบบ “พรูคุ้มครองชีวิต คืนเบี้ยประกันภัย (2)” (ชนิดไม่มีเงินปันผล) และ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน)
- อัตราเบี้ยประกันภัยของแบบ “พรูคุ้มครองชีวิต คืนเบี้ยประกันภัย (2)” (ชนิดไม่มีเงินปันผล) และ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน) เป็นเบี้ยคงที่ตลอดสัญญา
- ผู้เอาประกันภัยสามารถดูวิธีการชำระเบี้ยประกันภัยโดยละเอียดจากใบแจ้งกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย หรือสอบถามศูนย์บริการลูกค้า โทร 1621
ถาม-ตอบ
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน) (HI) และต้องการกลับมาซื้ออีกครั้งโดยให้มีผลบังคับในกรมธรรม์เดิม สามารถทำได้หรือไม่
ตอบ : ไม่สามารถทำได้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องซื้อคู่กับกรมธรรม์ฉบับใหม่เท่านั้น
- ถาม :
-
- ถาม : ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมเข้ามา และไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาเพิ่มเติม บริษัทฯ จะดำเนินการอย่างไร
ตอบ :
ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเลือกชำระเฉพาะเบี้ยฯ บางส่วนได้ ในกรณีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน บริษัทฯ จะดำเนินการ ดังนี้- กรณีไม่จ่ายเบี้ย ในปีกรมธรรม์ที่ 1-10: บริษัทฯ ดำเนินการกู้กรมธรรม์อัตโนมัติตามมูลค่าเงินสด (CV) ที่มีอยู่มาชำระเบี้ยฯ จนกว่ามูลค่าเงินสดจะหมดและกรมธรรม์จะสิ้นสุดความคุ้มครองฯ ลง
- กรณีไม่จ่ายเบี้ยฯ ในปีกรมธรรม์ที่ 11 เป็นต้นไป: สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันฯ จะสิ้นสุดความคุ้มครองในปีถัดไป แต่สัญญาประกันชีวิตหลักยังคงมีผลบังคับต่อ
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตาย หลังจากถือกรมธรรม์มา 3 ปี ผู้รับประโยชน์จะได้รับผลประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ :
เนื่องจากการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นหลังจาก 1 ปี ดังนั้น ผู้รับประโยชน์จะได้รับเฉพาะจำนวนเงินเอาประกันภัยหลักเท่านั้น ส่วนสัญญาเพิ่มเติม HI จะไม่ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากการฆ่าตัวตายเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติม
- ถาม : ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมเข้ามา และไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาเพิ่มเติม บริษัทฯ จะดำเนินการอย่างไร
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง กรมธรรม์นี้จะมีผลอย่างไร?
ตอบ :
ผู้เอาประกันภัยยังคงชำระเบี้ยฯ เพื่อให้กรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับ
- ถาม :
ตัวอย่าง
-
-
- เกิดทุพพลภาพฯ ในปี กธ ที่ 7 ผู้เอาประกันภัยยังคงต้องชำระเบี้ยฯ ทั้งในส่วนสัญญาประกันชีวิต และสัญญาเพิ่มเติม
- เกิดทุพพลภาพฯ ในปี กธ ที่ 11 ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยฯ เฉพาะในส่วนสัญญาเพิ่มเติม
-
หมายเหตุ:สัญญาประกันชีวิต ชำระเบี้ยฯ 10 ปี, สัญญาเพิ่มเติม ชำระเบี้ยฯ 15 ปี
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพกับทางบริษัทพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) (เช่น ธนชาตเบี้ยเบาเหมาจ่าย, Perfect Saver 20/20 Package) เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล(ในเครือข่าย) ในฐานะผู้ป่วยใน เมื่อออกจาก รพ. แล้ว ต้องดำเนินการเบิกเคลม HI อย่างไร?
ตอบ :ทางบริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายให้โดยอัตโนมัติภายหลังจากที่ผู้เอาประกันภัยออกจากโรงพยาบาลแล้ว โดยไม่ต้องยื่นเอกสารและแบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมชดเชยของบริษัทฯ อีก (ยกเว้นในกรณีที่จำเป็น บริษัทฯจะมีเอกสารเพิ่มเติมให้ทราบ) โดยบริษัทฯ จะส่งเช็คเงินสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับบริษัทฯ เท่านั้น
ในกรณีที่ต้องการให้โอนเงิน ผู้เอาประกันภัยแจ้งโอนเงินในครั้งแรก โดยแนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีพร้อมรับรองสำเนาเข้ามายังบริษัทฯ
เพิ่มเติม: กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกเครือข่าย ผู้เอาประกันภัยต้องดำเนินการส่งเอกสารเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- ถาม :
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันฯ ทั้งกับบริษัทพรูเด็นเชียลฯ และบริษัทประกันภัยอื่น ผู้เอาประกันภัยจะเบิกเคลม HI อย่างไร?
ตอบ :
ผู้เอาประกันภัยสามารถเบิกเคลมได้ในทุกบริษัทที่มีสัญญาดังกล่าว ดังนี้- ในกรณี Fax Claim ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องยื่นเอกสารและแบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมชดเชยอีก บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายให้โดยอัตโนมัติภายหลังจากที่ผู้เอาประกันภัยออกจากโรงพยาบาล
- ในกรณีเบิกเคลมเอง ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้เอกสารสำเนาของ หนังสือเรียกร้องสินไหมด้านแพทย์ที่ประทับตราสถานพยาบาล และสำเนาใบแจ้งค่ารักษาพยาบาล/ใบเสร็จรับเงิน
พร้อมแนบ หนังสือเรียกร้องสินไหมฯ และสำเนาบัตร ปชช. ที่ลงลายมือชื่อผู้เอาประกันภัย
- ถาม :
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนักเรียน นักศึกษา เยาวชน สามารถซื้อความคุ้มครองค่าชดเชยรายวันสูงสุดได้เท่าไหร่ ?
ตอบ :
สามารถซื้อค่าชดเชยรายวันสูงสุดได้ไม่เกิน 2,000 บาทต่อวัน โดยพิจารณารายได้ต่อวันของผู้ชำระเบี้ยฯ
- ถาม :
-
- ถาม :
ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีอาชีพอยู่ในชั้นอาชีพที่ 2 หรือ ชั้นอาชีพที่ 3 เมื่อวันครบกำหนดสัญญาประกันภัย
ในปีที่ 15 ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตหลักเท่าใด ?
ตอบ :
ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ในวันครบกาหนดสัญญา จะได้รับผลประโยชน์เท่ากับ 105% ของเบี้ยประกันภัยมาตรฐานรายปี (ตามชั้นอาชีพที่ 1) ของกรมธรรม์หลักที่ชำระมาแล้วทั้งหมด
- ถาม :
-
- ถาม :
ผู้สมัครสามารถซื้อทุนประกันชีวิตได้เท่าใด
ตอบ :
สำหรับ ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายเป็น Package ดังนั้น ทุนประกันภัยไม่สามารถเลือกได้ ซึ่งทั้ง 2 แผนให้ความคุ้มครองชีวิต 100,000 บาท
- ถาม :
-
- ถาม :
ในกรณีที่ลูกค้าไม่ทราบหรือไม่มีประวัติการรักษามาก่อนแล้วเกิดมีการเรียกร้องสินไหมทดแทน หลังจากระยะเวลารอคอยแล้วได้หรือไม่
ตอบ :
ลูกค้ามีสิทธิในการเรียกร้องสินไหมทดแทน แต่เนื่องจากกรมธรรม์อยู่ในระยะเวลาที่สามารถโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของสัญญาได้ (2 ปี) ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบก่อนการพิจารณาจ่ายสินไหมทดแทน
- ถาม :
-
- ถาม :
เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตที่ชำระ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ตอบ :
เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตสามารถนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร สำหรับเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
- ถาม :
หมายเหตุ
- ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต มิใช่การฝากเงิน เพื่อสิทธิประโยชน์สูงสุดจากกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยจนครบระยะเวลาชำระเบี้ย และถือครองกรมธรรม์จนครบกำหนดสัญญา หากกรมธรรม์ยุติความคุ้มครองก่อนครบกำหนดสัญญา ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ได้รับเงินคืนเท่ากับสิทธิประโยชน์สูงสุดจากกรมธรรม์ หรือจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- การนำส่งเบี้ยประกันภัยเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย การชำระเบี้ยประกันภัยผ่านนายหน้าประกันชีวิตเป็นเพียงการให้บริการเท่านั้น
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือหลังจากหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริงและค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ฉบับละ 500 บาท
- ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ขอเวนคืนกรมธรรม์ โดยจะได้รับค่าเงินเวนคืนกรมธรรม์ ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์กับผลประโยชน์อื่นๆ อันพึงจะได้รับ (ถ้ามี) หักด้วยจำนวนหนี้สินใดๆ ที่ค้างชำระอยู่ (ถ้ามี)
- เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิต สามารถนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ผู้ขายมีหน้าที่แจ้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีเท่านั้น ไม่สามารถการันตีหรือให้คำแนะนำอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- สำหรับเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมไม่สามารถนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
- ธนชาต คุ้มจ่าย ได้คืน เป็นชื่อทางการตลาดของ แบบ “พรูคุ้มครองชีวิต คืนเบี้ยประกันภัย (2)” (ชนิดไม่มีเงินปันผล) และ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ในฐานะคนไข้ใน)